วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ลีลาศหมายถึงการเต้นเพื่อความสนุกสนานและได้พบกับบุคคลอื่นๆ ในสังคมในงานสังสรรค์ หรืองานราตรีสโมสร ลีลาศนี้ มีมานับเป็นพันๆ ปีแล้ว แต่เพิ่งมีหลักฐานแน่ชัดเมื่อประมาณ ปี ค.ศ.1400 ซึ่งได้อธิบายถึงการก้าวเดิน และดนตรี
            การเต้นรำแบบบอลรูม (Ballroom Dancing) เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างชาติและเผ่าพันธุ์ต่างๆ ถึงแม้ว่าชาวตะวันตกจะนิยมกันอย่างมาก แต่การเต้นรำแบบบอลรูมก็เป็นที่ยอมรับของชนทุกชาติ


ประวัติความเป็นมา            ในสมัยดึกดำบรรพ์ ชาวสปาร์ต้า จะฝึกกีฬา เช่น ชกมวย, ยิงธนู, วิ่ง, ขี่ม้า ล่าสัตว์ รวมการ เต้นรำ ส่วนชาวโรมันมีการเต้นรำเพื่อแสดงความกล้าหาญ ผู้ที่มีชื่อเสียงในการเต้นตำของโรมันคือ ซีซีโร (Cicero : 106 – 43 B.C.)
            การเต้นรำแบบบอลรูม เริ่มตั้งแต่สมัยพระนางเจ้าอลิซาเบ็ธที่ 1 ซึ่งสมัยนั้นครั่งไคล้การเต้นรำที่เรียกว่า โวลต้า” (Volta) ซึ่งมีการจับคู่แบบวอลซ์ในปัจจุบัน การเต้นแบบโวลต้านั้นฝ่ายชายจะช่วยให้ฝ่ายหญิงกระโดดขึ้นในอากาศด้วย ซึ่งพระราชินีเอง ทรงพอพระทัยมาก
            เช็คสเปียร์ (Shakespeare : 1564 – 1616) อยู่ในกรุงลอนดอนหลายปี ได้กล่าวไว้ในบทละครเรื่องพระเจ้าเฮนรี่ที่ 5 ว่า มีการเต้นอีกอย่างเรียกว่า โคแรนโท หรือ โคแรนเท” (Courante)
            สมัยศตวรรษที่ 17 การเต้นรำมีแบบแผนมากขึ้น จอห์น วีเวอร์ และ จอห์น เพทฟอร์ด (John Weaver & John Playford) เป็นนักเขียนชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เพลฟอร์ด ได้เขียนเกี่ยวกับการเต้นรำแบบเก่าของอังกฤษ ซึ่งรวบรวมได้ถึง 900 แบบอย่าง
            แซมมวล ไพปส์ (Samuel Pepys : 1632 – 1704) ได้เขียนบันทึกประจำวันในสมัยการปกครองของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 และได้บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ.1662 ถึงงานราตรีสโมสร ซึ่งพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงพาสุภาพสตรีออกเต้นโคแรนโท” (Coranto)
            การเต้นรำได้แพร่เข้ามาประเทศฝรั่งเศส เปลี่ยนมาเรียกเป็นสำเนียงฝรั่งเศสว่า คองเทร ดองเซ่ (Conterdanse) พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงโปรดปรานมากและต่อมาได้แพร่หลายไปยังประเทศอิตาลีและ สเปน
            การเต้นรำแบบบอลรูมในจังหวะวอลซ์ (Waltz) ได้เริ่มขึ้นประมาณ ค.ศ. 1800 เป็นจังหวะที่นิยมกันมากในสมัยนั้น
            ในสมัยพระนางเจ้าวิคตอเรีย (The Victorian Era : 1830 – 80) การไปงานราตรีสโมสร หนุ่มสาวจะไปเป็นคู่ๆ ต้องต่างคนต่างไป และฝ่ายชายจะขอลีลาศกับหญิงคนเดิมมากกว่า 4 ครั้ง ไม่ได้ หญิงโสดก็จะต้องมีพี่เลี้ยงไปด้วย ฝ่ายหญิงจะมีบัตรเล็กๆ สีขาว จดบันทึกไว้ว่า เพลงใดมีชายขอจองลีลาศไว้บ้าง
            ในศตวรรษที่ 20 นิโกรในอเมริกา มีบทบาทมากทางด้านดนตรี และลีลาต่างๆ ในนิวออร์ลีน มีการเล่นดนตรีแบบพื้นเมืองของอาฟริกา ตอนแรกเรียกว่าจังหวะ (Syncopation) มีท่วงทำนองเร้าใจ และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคแจ๊ส (Jazz Age) สมัยเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 1 ใหม่ๆ ดนตรีจังหวะนี้ก็เข้ามาแพร่หลายในอังกฤษ พร้อมๆ กันนั้นก็มีจังหวะพื้นเมืองอีกจังหวะหนึ่งมาจากอเมริกาใต้ คือ จังหวะแทงโก (Tango) ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากเพลงพื้นเมืองของพวกคาวบอยในอาร์เยนตินา ยุคนั้นเรียกว่า แร็กโทม์ (Rag – Time) ซึ่งการเต้นไม่มีกฏเกณฑ์อะไร
            ต่อมาประมาณปี ค.ศ.1929 มีครูลีลาศในอังกฤษรวมกันเป็นคณะกรรมการปรับปรุงการลีลาสแบบบอลรูมขึ้นมาเป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมควิกวอลซ์ด้วยจะเป็น 5 จังหวะ) ถือว่าเป็นแบบฉบับของชาวอังกฤษ คือ วอลซ์ (Waltz) ควิกสเต็ป (Quickstep) แทงโก (Tango) และ ฟอกซ์ทรอต (Fox-trot)
            เนื่องจากอิทธิพลของยุคแจ๊ส (Jazz Age) ก็ได้เกิดการลีลาศแบบลาตินอเมริกา ซึ่งจัดไว้เป็นมาตรฐาน 4 จังหวะ (ถ้ารวมพาโซโดเบิ้ล ก็จะเป็น 5 จังหวะ) คือ รัมบ้า (Rumba) ชา ชา ช่า (Cha – Cha – Cha) แซมบ้า (Samba) และไจว์ฟ (Jive) โดยคัดเลือกจากการลีลาศประจำชาติต่างๆ เช่น แซมบ้าจากบราซิล รัมบ้าจากคิวบา พาโซโดเบิ้ลจากสเปน และไจว์ฟจากอเมริกา

การลีลาศในประเทศไทย
            การลีลาศในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีหลักฐานยืนยันได้แน่ชัด แต่จากบันทึกของแหม่มแอนนา ทำให้มีหลักฐานเชื่อได้ว่า เมืองไทยมีลีลาศมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 และบุคคลที่ได้รับการยกย่องให้เป็นนักลีลาศคนแรกก็คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามบันทึกของแหม่มแอนนาเล่าว่า ในช่วงหนึ่งของการสนทนาได้พูดถึงการเต้นรำ ซึ่งแหม่มแอนนาพยายามสอนพระองค์ท่านให้รู้จักการเต้นรำแบบสุภาพ ซึ่งเป็นที่นิยมของชาติตะวันตก พร้อมกับแสดงท่า และบอกว่าจังหวะวอลซ์นั้นหรูมาก มักนิยมเต้นกันในวังยุโรป ซึ่งพระองค์ท่านก็ฟังอยู่เฉยๆ ไม่ออกความเห็นใดๆ แต่พอแหม่มแอนนาแสดงท่า พระองค์ท่านกลับสอนว่าใกล้เกินไปแขนต้องวางให้ถูก และ พระองค์ท่านก็เต้นให้ดู จนแหม่มแอนนาถึงกับงง จึงทูลถามว่าใครเป็นคนสอนให้พระองค์ ท่านก็ไม่ตอบจึงไม่รู้ว่าใครเป็นผู้สอนพระองค์ สันนิษฐานกันว่าพระองค์ท่านคงจะศึกษาจากตำราด้วยพระองค์เอง
            ในสมัยรัชกาลที่ 5 การเต้นรำยังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนัก คงมีแต่เจ้านายในวังที่เต้นกัน ส่วนใหญ่มักจะเต้นจังหวะวอลซ์เพียงอย่างเดียว และบางครั้งได้มีการนำเอาจังหวะวอลซ์ไปสอดแทรกในการแสดงละครด้วย เช่น เรื่องพระอภัยมณี ตอนที่กล่าวถึงนางละเวงได้กับพระอภัยมณี
            ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทุกๆ ปีในงานเฉลิมพระชนมพรรษาก็มักจะจัดให้มีการเต้นรำกันใน พระบรมมหาราชวัง โดยมีองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นประธาน ซึ่งบรรดาทูตานุทูตทั้งหลายต้องเข้าเฝ้า ส่วนแขกที่ชิญนั้นต้องได้รับบัตรเชิญจึงจะเข้าไปในงานได้
            ในสมัยรัชกาลที่ 7 การเต้นรำได้รับความนิยมมากขึ้น ได้เปิดให้มีการเต้นกันตามสถานที่ต่างๆกันมาก เช่น ที่ห้อยเทียนเหลา เก้าชั้น โลลิต้า และคาร์เธ่ย์
            ในพุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้าวรรณไวทยากรวรรณ กับนายหยิบ ณ นคร ได้ปรึกษากันและจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวกับการเต้นรำขึ้น ชื่อ สมาคมสมัครเล่นเต้นรำโดยมีหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ เป็นประธาน นายหยิบ ณ นคร เป็นเลขาธิการสมาคม และมีคณะกรรมการอีกหลายท่าน เช่น หลวงเฉลิม สุนทรกาญจน์ นายแพทย์เติม บุนนาค พระยาปกิตกลสาร พระยาวิชิตหลวงสุขุม นัยประดิษฐ์ หลวงชาติตระการโกศล สถานที่ตั้งสมาคมนั้นไม่แน่นนอนคือวนเวียนไปตามบ้านสมาชิกแล้วแต่สะดวก การตั้งเป็นสมาคมครั้งนี้ไม่ได้จดทะเบียนให้เป็นที่ถูกต้องแต่อย่างใด สมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งได้พาบุตรหรือบุตรีเข้าฝึกหัดด้วย ทำให้สมาชิกเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มักจัดให้มีงานเต้นรำขึ้นบ่อยๆ ที่สมาคมคณะราษฎร์ วังสราญรมย์ และได้จัดแข่งขันการเต้นรำขึ้นครั้งแรกที่วังสราญรมย์นี้ ผู้ชนะเลิศเป็นแชมเปี้ยนคือ พลเรือตรีเฉียบ แสงชูโต และคุณประนอม สุขุม
            ในปี พ.ศ. 2476 นักศึกษากลุ่มหนึ่งเห็นว่า คำว่า เต้นรำ เมื่อผวนแล้วจะฟังไม่ไพเราะหู ดังนั้นหม่อมเจ้าไวทยากรวรวรรณ จึงบัญญัติศัพท์คำว่าลีลาศขึ้นแทนคำว่า เต้นรำนับแต่บัดนี้เป็นต้นมา ต่อมาสมาคมสมัครเล่นเต้นรำก็สลายตัวไปกลายเป็น สมาคมครูลีลาศแห่งประเทศไทยโดยมีนายหยิบ ณ นคร เป็นผู้ประสานงานจนสามารถส่งนักลีลาศไปแข่งยังต่างประเทศได้ รวมทั้งให้การต้อนรับนักลีลาศชาวต่างชาติที่มาเยี่ยมหรือแสดงในเมืองไทย ในช่วงที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ เข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ด้วย จึงทำให้การลีลาศซบเซาไป
            เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2488 วงการลีลาศของเมืองไทยก็เริ่มคึกคักมีชีวิตชีวาขึ้นดังเดิม มีโรงเรียนสอนลีลาศเปิดขึ้นหลายแห่ง โดยเฉพาะสาขาบอลรูมหรือ Modern Ballroom Branch อาจารย์ยอด บุรี ซึ่งไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษแล้วนำกลับมาเผยแพร่ใน เมืองไทย ทำให้การลีลาศซึ่ง ศาสตราจารย์ศุภชัย วานิชวัฒนา เป็นผู้นำอยู่ก่อนแล้วเจริญขึ้นเป็นลำดับ
            ต่อมาได้มีบุคคลชั้นนำในการลีลาศประมาณ 10 ท่าน ซึ่งเคยเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งขันในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น คุณกวี กรโกวิท , คุณอุไร โทณวนิก , คุณจำลอง มาณยมฑล คุณปัตตานะ เหมะสุจิ โดยมีนายแพทย์ประสบ วรมิศร์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อพบปะปรึกษาหารือ และมีแนวความคิดจะรวมนักลีลาศทั้งหมดให้อยู่ในสมาคมเดียวกัน เพื่อเป็นการผนึกกำลังและช่วยกันปรับปรุงมาตรฐานการลีลาศทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกัน จึงมีการร่างระเบียบข้อบังคับขึ้นมา ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นสมาคมตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2491 ซึ่งสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้อนุญาติให้จัดตั้ง สมาคมลีลาศแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2491 โดยมีหลวงประกอบนิติสาร เป็นนายกสมาคมคนแรก ปัจจุบันสมาคมแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสภาการลีลาศนานาชาติ ด้วยประเทศหนึ่ง
            หลังจากนั้นการลีลาศได้รับความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมาก มีการจัดตั้งสมาคมลีลาศขึ้น มีสถานลีลาศเปิดเพิ่มขึ้น มีการจัดส่งนักกีฬาลีลาศไปแข่งขันในต่างประเทศ และจัดแข่งขันลีลาศนานาชาติขึ้นในประเทศไทย ในสมัยจอมพลสฤษณ์ ธนะรัตต์ ได้ให้เรียนสอนลีลาศต่างๆ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และมีการกำหนดหลักสูตรลีลาศขึ้นอย่างเป็นแบบแผน มีสถาบันที่เปิดสอนลีลาศเกิดขึ้นเกือบทุกจังหวัด ปัจจุบันมีหลักสูตรการสอนลีลาศในสถานศึกษา ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับอุดมศึกษา



ความรู้พื้นฐานในการเต้นลีลาศ   

ในการฝึกลีลาศ  จะต้องคำนึงถึงทักษะเบื้องต้นของการลีลาศเป็นอันดับแรก  และจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง  ฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ  หากละเลยถึงหลักและทักษะเบื้องต้นจะทำให้ผู้ฝึกลีลาศขาดความก้าวหน้า  และไม่มีศิลปะของการลีลาศอย่างแท้จริง  ทักษะเบื้องต้นของการฝึกลีลาศเพื่อให้เกิดความชำนาญ  มีดังนี้


โครงสร้างของดนตรีประกอบด้วย

1. จังหวะ  (beat)  หมายถึง  เสียงที่เกิดขึ้นและตกบนตัวโน้ตทุกตัว  หรือหมู่ของเสียงที่ทำให้เกิดจังหวะขึ้นในห้องเพลง  โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง เช่น  จังหวะ 2/4  จังหวะ 3/4 หรือจังหวะ 4/4  

2. เสียงเน้น  (Accent)  หมายถึง  เสียงที่เคาะลงบนจังหวะ  จะได้ยินชัดเจนมากกว่าเสียงเคาะในห้องเพลง    โดยปกติจะตกบนตัวโน้ตตัวแรกของห้องเพลง

3. ห้องเพลง  (bar)  หมายถึง  กลุ่มของจังหวะที่ประกอบกันขึ้นเป็นช่วงหรือตอนปกติจะอยู่ระหว่างเสียงเน้นเสียงหนึ่งกับเสียงเน้นอีกเสียงหนึ่ง

4. ความเร็ว (Tempo)  หมายถึง อัตราความเร็วของดนตรีที่บรรเลงโดยใช้เวลาเป็นตัวกำหนด  เช่น  ใน 1 นาทีจะบรรเลงกี่ห้องเพลง  การหัดฟังจังหวะดนตรีควรเลือกฟังจากดนตรีที่มีเสียงชัดเจน  ฟังง่าย  ถ้าเป็นดนตรีจังหวะ 2/4  จะได้ยินเสียงเคาะลงบนจังหวะ 2 จังหวะใน 1 ห้องเพลง  เสียงที่ได้ยินแต่ละครั้งใน 1 ห้องเพลงนั้น  จะมีเสียงหนึ่งเป็นเสียงหนักและอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงเบาต่อเนื่องกันไปทุก ๆ ห้องเพลง  การฝึกนับจังหวะจะนับ  1 2  , 1 2  , 1 2 …………  ไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง
ทิศทางในการลีลาศ  (Line of Dance)

เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า  ทิศทางทวนเข็มนาฬิกา (Counter Clockwise) เป็นทิศทางของการลีลาศซึ่งถือเป็นสากล ดังนั้นในการลีลาศจะต้องลีลาศไปในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา  ทั้งนี้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ทั้งเป็นการป้องกันมิให้ลีลาศไปชนกับคู่อื่น  ทิศทางนี้เรียกว่า แนวลีลาศ” (Line of Dance)  ซึ่งนิยมเรียกกันด้วยคำย่อว่า  L.O.D. 






                การลีลาศในแต่ละจังหวะหรือแต่ละลวดลาย (Figure)  มีการเริ่มต้นและสิ้นสุดในทิศทางที่แตกต่างกัน  ผู้ฝึกลีลาศจึงควรทำความเข้าใจ  เกี่ยวกับทิศทางการเคลื่อนที่ในการลีลาศให้ถูกต้องเสียก่อนจะทำให้สามารถฝึกลีลาศได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามเทคนิคของการลีลาศ  ตำแหน่งการยืนในการลีลาศ (Position of Stand)  จะสัมพันธ์กับทิศทางที่ผู้ลีลาศหันหน้าไปในทิศทางต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ 8 ทิศทาง  การเรียกชื่อตำแหน่งที่ยืนจะเรียกตามทิศทางที่หันหน้าไป  ดังนี้                1. ยืนหันหน้าตามแนวลีลาศ (Facing Line of Dance)
                2. ยืนหันหน้าย้อนแนวลีลาศ (Facing Against Line of Dance)
                3. ยืนหันหน้าเข้ากลางห้องหรือกลางฟลอร์ (Facing Centre)
                4. ยืนหันหน้าเข้าฝาห้อง (Facing Wall)                 5. ยืนหันหน้าเฉียงกลางห้องตามแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Centre)
                6. ยืนหันหน้าเฉียงฝาตามแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Wall)
                7. ยืนหันหน้าเฉียงฝาย้อนแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Wall Against Line of Dance)
                8. ยืนหันหน้าเฉียงกลางห้องย้อนแนวลีลาศ (Facing Diagonally of Centre Against Line of Dance) 


การจัดทิศทางและการเคลื่อนไหวเท้า  (Alignment and Foot Work)
การจัดทิศทาง (Alignment)
                การจัดทิศทางมีส่วนสัมพันธ์กับทิศทางในการลีลาศ  เป็นส่วนที่อธิบายถึงทิศทางในการลีลาศให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  เนื่องจากทิศทางการลีลาศจะบอกเพียงว่า  คู่ลีลาศจะเคลื่อนที่ไปทางไหน  จึงต้องมีการอธิบายถึงการจัดทิศทาง  เพื่อให้เกิดการปฏิบัติเป็นรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน  โดยจะใช้คำอยู่ 3 คำในการจัดทิศทางคือ  หันหน้า (Facing) หันหลัง (backing)  และชี้เท้า (Pointing)  โดยการหันหน้าหรือหันหลังจะระบุอย่างชัดเจนว่า  หันหน้าเข้าฝาห้อง  หันหลังเฉียงฝาย้อนแนวลีลาศ  เป็นต้น  ส่วนการชี้เท้าจะใช้เมื่อก้าวเท้าเดินไปทางด้านข้าง  หรือการก้าวเท้าชี้ไปนอกทิศทางที่หันหน้าอยู่ในขณะอย่างถูกต้อง


 การเคลื่อนไหวเท้า (Foot Work) 

                การเคลื่อนไหวเท้า  หมายถึง  การใช้ส่วนของเท้าสัมผัสกับพื้นในแต่ละก้าว (Step)  การเคลื่อนไหวเท้ามีประโยชน์ที่จะนำมาปฏิบัติเป็นความรู้เบื้องต้น  เกี่ยวกับการวางเท้าให้ถูกต้องในแต่ละก้าว  คำที่ใช้เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเท้า  มีดังนี้                1. ส้นเท้า (Hell)  หมายถึง  ให้ส่วนของส้นเท้าสัมผัสพื้นก่อน                2. ปลายเท้า (Toe)  หมายถึง  ให้ส่วนของโคนนิ้วเท้าถึงปลายนิ้วเท้า  สัมผัสพื้นก่อน                3. จุดหมุนของเท้า (ball of Foot)  หมายถึง  ให้ส่วนของฝ่าเท้าถึงโคนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นก่อน                4. ฝ่าเท้า (Whole Foot)  หมายถึง  ให้ทุกส่วนของเท้าสัมผัสพื้นก่อน

การฝึกเดินในการลีลาศ  (General Outline of The Walk)

มีคำพูดว่า ถ้าท่านเดินได้  ท่านก็สามารถลีลาศได้”  คำพูดนี้คงจะไม่เป็นความจริงนัก  เพราะท่าทางการเดินทั่ว ๆ ไปกับการเดินในการลีลาศนั้นไม่เหมือนกัน  เพียงแต่มีความสัมพันธ์กันเท่านั้น  กล่าวคือ  การเดินในการลีลาศ  มีการเคลื่อนไหวเท้าทั้งสองข้างติดต่อกันไปบนฟลอร์ลีลาศ  ตามลวดลาย (Figure)  ของแต่ละจังหวะ  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า คนที่เดินได้  สามารถเรียนรู้และฝึกลีลาศได้”  การเดินในการลีลาศแตกต่างไปจากการเดินธรรมดา  คือ  ขณะเดินไม่ว่าจะก้าวเท้าไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ตาม  ปลายเท้าจะชี้ตรงไปข้างหน้าเสมอ  เท้าทั้งสองข้างลากผ่านกันจนเกือบสัมผัสกัน  และถ่ายน้ำหนักตัวไปยังเท้าที่ก้าวไปใหม่เสมอ  ดังนั้น  ท่าทางการเดินจึงนับว่าเป็นพื้นฐานสำคัญในการลีลาศที่ผู้ฝึกลีลาศใหม่ ๆ ควรให้ความสนใจ  และฝึกฝนให้ถูกต้องเสียก่อน            การจัดทรวดทรงหรือการวางลำตัวที่ดี  เป็นบุคลิกภาพที่มีคุณค่าต่อการลีลาศ  เพราะทำให้ดูแล้วสง่างามน่ามอง  การที่ลีลาศได้แต่ไม่สวยงาม  อาจเนื่องมาจากการละเลยหรือไม่ให้ความสนใจในการจัดทรวดทรงของตนเอง  เช่น  เข่างอ  ไหล่ห่อ  ท้องยื่น  เป็นต้น  ซึ่งจะทำให้ทรวดทรงของบุคคลนั้นอยู่ในลักษณะที่ห่อเหี่ยว  ดูเฉื่อยชา  ไม่กระฉับกระเฉง  หรือมองดูคล้ายกับคนเหนื่อยอ่อน  ดังนั้นผู้ที่มีทรวดทรงไม่ดีไม่สง่างาม  จะต้องปรับปรุงแก้ไขด้วยการฝึกฝนตนเองบ่อย ๆ ดังนี้

การเดินไปข้างหน้าของผู้ชาย (The Forward Walk Gentlemen) 


·                       การจัดทรวดทรง :  ยืนตัวตรงหย่อนเข่าเล็กน้อยแต่ไม่ถึงกับย่อเข่า  ลำตัวตั้งแต่เท้าถึงศรีษะเอนไปข้างหน้าจนรู้สึกว่าน้ำหนักตัวอยู่ที่ปลายเท้า  แต่ส้นเท้าไม่ลอยพ้นพื้น  ในการเอนลำตัวไปข้างหน้านั้น  พยายามรักษาลำตัวตั้งแต่สะโพกขึ้นไปให้อยู่ในลักษณะตั้งตรง  เมื่ออยู่ในท่าลักษณะดังกล่าวแสดงว่าพร้อมที่จะก้าวเดิน

·                       การเคลื่อนไหวขาและเท้า :  โดยทั่วไปนิยมให้ผู้ชายเริ่มต้นก้าวเท้าเดินด้วยเท้าซ้ายก่อนในการเริ่มต้น  จะเริ่มด้วยการให้น้ำหนักตัวอยู่ที่เท้าขาว  แล้วก้าวเท้าซ้ายโดยเคลื่อนจากสะโพกไป ข้างหน้า  ขณะที่เท้าซ้ายผ่านปลายเท้าขวา  ส้นเท้าขวาจะเริ่มยกขึ้นพ้นพื้น  และเมื่อก้าวเท้าซ้ายออกไปเต็มที่แล้ว  ส้นเท้าซ้ายและปลายเท้าขวาจะสัมผัสพื้นพร้อมกัน  ให้วางปลายเท้าซ้ายราบลงกับพื้นทันทีในขณะที่ลำตัวยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  ถ่ายน้ำหนักตัวลงบนเท้าซ้าย

·                       การก้าวเท้าขวาไปข้างหน้า  ให้ลากปลายเท้าไปกับพื้นและเคลื่อนผ่านเท้าซ้ายเช่นเดียวกับการก้าวเท้าเดินด้วยเท้าซ้าย  การถ่ายน้ำหนักตัวขณะก้าวเท้าเดินจากตำแหน่งที่อยู่กับที่  น้ำหนักตัวส่วนใหญ่จะอยู่บนปลายเท้าก่อนที่จะเริ่มก้าวเท้าออกไป  ขณะกำลังก้าวเท้าเดิน  น้ำหนักตัวจะอยู่บนเท้าที่ไม่ได้ก้าว  และเมื่อก้าวเท้าเกินออกไปเต็มที่แล้ว  น้ำหนักตัวจะถูกแบ่งอยู่ระหว่างส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง  แล้วค่อย ๆ ถ่ายน้ำหนักตัวไปที่เท้าหน้า  เมื่อวางเท้าหน้าลงเต็มเท้าน้ำหนักตัวทั้งหมดจะมาอยู่บนเท้าหน้าทันที

·                       ข้อควรระวัง  :  จากลักษณะท่ายืนอยู่กับที่  จะรู้สึกว่าลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าก่อนเท้า  แต่ถ้าเท้าเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก่อนลำตัว  น้ำหนักตัวจะถูกส่งไปข้างหลังมากเกินไป  ตลอดเวลาที่กำลังเดินอยู่ปล่อยเข่าให้สบายและหย่อนเข่าตามธรรมชาติ  ขาจะตรงเมื่อก้าวเท้าไปเต็มที่แล้วแต่ไม่  เกร็งเข่า

การเดินถอยหลังของผู้หญิง (The backward Walk Lady) 

·                       การจัดทรวดทรง  :  ยืนตัวตรงปล่อยเข่าตามสบายแต่อย่าให้งอ  วางลำตัวเอนไปข้างหลังเล็กน้อยจนน้ำหนักตัวอยู่บนส้นเท้าทั้งสองข้าง  การทำเช่นนี้จะไม่ช่วยในการทรงตัวแต่ทำให้มองดูแล้วสง่างาม  พยายามอย่าเอนลำตัวไปข้างหลังมากเกินไป  เพราะจะทำให้เกิดส่วนโค้งที่ไม่สวยงามของหลังขึ้น          ถึงแม้ว่าผู้หญิงจะเอนลำตัวไปข้างหลัง  แต่ก็ต้องออกแรงต้านการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ชายไว้บ้างเล็กน้อย ซึ่งไม่ใช่แรงต้านทั้งตัวแต่จะใช้ส่วนล่างของร่างกายตรงสะโพก   มิฉะนั้น  จะเป็นการขัดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ชาย และทำให้ยากต่อการก้าวเท้าออกนอกคู่ (Outside Partner)  ผู้หญิงไม่ควรเอนลำตัวมาข้างหน้า  หรือทิ้งน้ำหนักตัวมาข้างหน้าในขณะที่กำลังเดินถอยหลัง  เพราะจะทำให้ผู้ชายมีแรงต้านบริเวณหน้าอก  และรู้สึกลำบากในการนำผู้หญิง  ทั้งยังทำให้ผู้ชายรู้สึกว่าผู้หญิงตัวหนักอีกด้วย

·                       การจัดทรวดทรงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก  แต่ถ้าได้พยายามฝึกการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างให้สามารถลดส้นเท้าลงเมื่อเร่งจังหวะในการลีลาศ  ก็อาจทำให้สามารถจัดทรวดทรงได้ง่ายขึ้

·                       การเคลื่อนไหวขาและเท้า : ผู้หญิงจะเริ่มต้นเดินถอยหลังด้วยเท้าขวาก่อน  เริ่มด้วยการถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่บนเท้าซ้าย  ถอยเท้าขวาไปข้างหลังโดยเคลื่อนออกจากสะโพก  เมื่อถอยเท้าขวาผ่านเท้าซ้าย  ปลายเท้าซ้ายจะค่อย ๆ ยกขึ้นพ้นพื้น  เมื่อถอยเท้าขวาออกไปเต็มที่ปลายเท้าขวาและส้นเท้าซ้ายจะสัมผัสพื้นพร้อมกัน  ลำตัวยังคงเคลื่อนที่ไปข้างหลัง  ลดส้นเท้าขวาลงบนพื้น  ถ่ายน้ำหนักตัวมาอยู่บนเท้าขวา  เท้าซ้ายถอยตามเท้าขวาไปข้างหลัง (ถอยด้วยส้นเท้า)  เมื่อเท้าซ้ายถอยมาอยู่ระดับเดียวกับเท้าขวา  ปลายเท้าซ้ายจึงจะสัมผัสพื้น   

·                       สำหรับการเดินถอยหลังด้วยเท้าซ้าย  ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการเดินถอยหลังด้วยเท้าขวา  การถ่ายน้ำหนักตัวในขณะที่เดินถอยหลังจากตำแหน่งที่อยู่กับที่  น้ำหนักตัวจะอยู่บนส้นเท้าก่อนเริ่มเดินถอยหลัง  เมื่อก้าวเท้าเดินถอยหลังน้ำหนักตัวจะอยู่บนเท้าที่ไม่ได้ก้าว  และเมื่อถอยเท้าไปข้างหลังเต็มที่แล้วน้ำหนักตัวจะอยู่ระหว่างส้นเท้าหน้ากับปลายเท้าหลัง  แล้วค่อย ๆ ถ่ายน้ำหนักตัวไปอยู่บนเท้าหลัง  

·                       ข้อควรระวัง  :
1. จากท่ายืนอยู่กับที่
  เมื่อจะเคลื่อนที่จะต้องให้รู้สึกว่าลำตัวเคลื่อนที่ไปก่อนเท้า
2. ไม่ลากเท้าไปกับพื้น
  ให้ยกปลายเท้าขึ้นขณะเคลื่อนเท้าถอยไปข้างหลัง  เข่าหย่อนและผ่อนคลายตามธรรมชาติตลอดการเดินขา เหยียดตรงเมื่อก้าวเท้าถอยหลังไปเต็มที่แล้ว  แต่ไม่เกร็งเข่า
3.
 ข้อเท้าและหลังเท้าปล่อยตามสบาย
4. เท้าทั้งสองข้างเหยียดตรง
  ยกปลายเท้า  ส้นเท้า  และข้างเท้าด้านในผ่านซึ่งกันและกันทุกครั้งที่ก้าวเดิน  

การเดินไปข้างหน้าของผู้หญิง (The Forward Walk Lady)
            ถึงแม้ว่าการก้าวขาและเท้าของผู้หญิง จะเหมือนกับการเดินไปข้างหน้าของผู้ชาย แต่ผู้หญิงจะต้องไม่เอนลำตัวไปข้างหน้า ในการที่จะช่วยให้ผู้ชายเดินถอยหลังได้สะดวกขึ้นนั้น  ผู้หญิงจะต้องดันลำตัวไปข้างหน้าขณะที่ก้าวเท้าเดิน  แต่จะต้องไม่ทำให้ผู้ชายเสียการทรงตัว  สำหรับผู้ชายยังคงเป็นผู้นำในการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังอยู่เช่นเดิม 
การเดินถอยหลังของผู้ชาย (
The backward Walk Gentleman)
            โดยปกติแล้ว  ผู้ชายมักจะไม่ค่อยเดินถอยหลัง  ยกเว้นจังหวะสโลว์ฟอกซ์ทรอท (Slow Fox-trot) ถึงแม้ว่าการก้าวเท้าเดินถอยหลังของผู้ชาย  จะมีลักษณะการก้าวขาและเท้าเหมือนกับการเดินถอยหลังของผู้หญิงก็ตาม  แต่ผู้ชายต้องรักษาทรวดทรงให้เหมือนกับการเดินไปข้างหน้าอยู่เสมอ            อนึ่งในการฝึกเดินลีลาศ  หากเป็นการฝึกเดินเพียงลำพัง  ส่วนใหญ่จะเก็บมือโดยการท้าวเอวหรือเก็บมือแบบ C.b.M.  คือ  คว่ำฝ่ามือทั้งสองข้างวางทับกันในระดับอกและกางศอกทั้งสองข้างขนานกับพื้น วิธีนี้นิยมนำมาใช้ในการฝึกลีลาศประเภทบอลรูม (ballroom  Dancing)  แต่ในขณะที่ลีลาศกับคู่นั้น  หากมือข้างใดไม่ได้ใช้หรือไม่ได้จับคู่ลีลาศ  ก็จะมีตำแหน่งของการวางแขน (Arm  Position)  โดยนำมาจากท่าลีลาศของบัลเล่ย์ การจะวางแขนในลักษณะใดขึ้นอยู่กับรูปแบบของการลีลาศในลวดลายนั้น ๆ

การจับคู่ลีลาศ  (The  Hold)


การจับคู่ลีลาศ  เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ฝึก ลีลาศจะต้องทราบ  และให้ความสนใจมากเป็นพิเศษ  เพราะถ้าจับคู่ไม่ถูกต้องตามแบบแผน  นอกจากจะทำให้ขาดความสง่างามแล้ว  ยังเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการนำ (Lead)  และการตาม (Follow)  เพราะจะทำให้เสียการทรงตัวและการก้าวเท้าของคู่ลีลาศไม่สอดคล้องสัมพันธ์กัน  หรืออาจทำให้เหยียบเท้ากันได้  ดังนั้นการจับคู่ลีลาศที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการลีลาศ  โดยเฉพาะผู้ชายจะต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้อง                โดยปกติ  ท่าเริ่มต้นในการจับคู่ลีลาศแทบทุกจังหวะ  จะจับคู่แบบบอลรูมปิด (Closed  ballroom)  ได้แก่  จังหวะวอลซ์  (Waltz)  จังหวะควิกสเต็ป  (Quick  Step)  จังหวะชา ชา ช่า (Cha Cha Cha)  และจังหวะบีกิน  (beguine)  แต่เมื่อคู่ลีลาศออกลวดลาย (Figure)  ต่างๆแล้ว  การจับคู่ลีลาศจะเปลี่ยนไปเป็นแบบอื่นตามลวดลายของจังหวะนั้นๆ  มีเพียงบางจังหวะที่จับคู่ลีลาศตอนเริ่มต้นแตกต่างออกไป  ได้แก่   จังหวะแทงโก้  (Tango)  จังหวะไจฟว์ (Jive) และจังหวะร็อคแอนด์โรล  (Rock  and  Roll)  เป็นต้น

                                                              

 ประโยชน์ของการเต้นลีลาส 

       จากสภาพความเป็นอยู่ของคนในสังคมปัจจุบัน  ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาที่สลับซับซ้อน  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ  สังคมและการเมือง  สภาพการณ์เหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้ประชาชนประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ  ซึ่งจิตแพทย์  นักจิตวิทยา  และนักการศึกษาต่างก็พยายามเน้นและชี้นำให้เห็นถึงความจำเป็น  เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถผ่อนคลายความเครียด  และเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น  ลีลาศเป็นกิจกรรมหนึ่ง  ซึ่งนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้วยังช่วยพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคมได้เป็นอย่างดี  จึงพอสรุปประโยชน์ของการลีลาศได้  ดังนี้
1.
  ก่อให้เกิดความซาบซึ้งในจังหวะดนตรี
2.
  ก่อให้เกิดความสนุกสนาม  เพลิดเพลิน
3.
  เป็นกิจกรรมนันทนาการ  และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
4.
  เป็นกิจกรรมสื่อสัมพันธ์ทางสังคม  ผู้ชายและผู้หญิงสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมพร้อมกันได้
5.
  ช่วยพัฒนาทักษะทางกลไก  (Motor  Skill)
6.
  ช่วยส่งเสริมสุขภาพพลานามัย  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  ให้แข็งแรงสมบูรณ์อันจะทำให้มีชีวิตยืนยาวและมีความสุข
7.
  ทำให้มีรูปร่างทรวดทรงงดงาม  สมส่วน มีบุคลิกภาพในการเคลื่อนไหวที่ดูแล้วสง่างาม    ยิ่งขึ้น
8.
  ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์และสังคม
9.
  ช่วยให้รู้จักการเข้าสังคม  และรู้จักการอยู่ร่วมกันในสังคมได้เป็นอย่างดี
10. ช่วยส่งเสริมให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง
  กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีงาม
11. ทำให้มีความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอันดีงาม
  และช่วยจรรโลงให้คงอยู่ตลอดไป
12. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
13. เป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยแก้ไขข้อบกพร่องทางกาย
                       



การจัดงานลีลาศ 

               งานลีลาศ เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อพบปะสังสรรค์ประเภทหนึ่ง  แต่เป็นการพบปะสังสรรค์ที่ค่อนข้างจะแตกต่าง  จากงานพบปะสังสรรค์โดยทั่วไป  คือ  ถ้าเมื่อกล่าวถึงงานลีลาศแล้วนั้น หมายถึง งานพบปะสังสรรค์นั้น จะต้องมีการเต้นรำ หรือลีลาศเข้ามาเป็นกิจกรรมสำคัญของงาน งานลีลาศจึงมุ่งเน้นที่จะให้ผู้ที่เข้ามาร่วมงานได้มีโอกาสสนุกสนานกับการลีลาศ  รำวงมากกว่า กิจกรรมประเภทอื่นๆ           
               ลักษณะของงานลีลาศในแต่ละโอกาส และแต่ละสถานที่นั้นจะแตกต่างกันออกไป ตามความเห็นชอบของผู้จัดงาน หรือตามสิ่งที่เอื้ออำนวยให้การลีลาศประสบผลได้มากที่สุด แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอย่างยิ่งก็คือ งานลีลาศนั้น จะต้องมีการลีลาศ รำวง เข้ามาเป็นหัวใจสำคัญของงาน ผู้เข้ามาร่วมงานควรได้มีโอกาสได้ประกอบกิจกรรมทางการลีลาศ รำวง อย่างสนุกสนานได้มากที่สุด ในขณะงานกำลังดำเนินอยู่นั้น อาจจะจัดกิจกรรมประเภทอื่นๆ เข้ามาทรอดแทรกคั่นรายการบ้าง ก็เป็นเพียงนำมาให้ผู้เข้ามาร่วมงานได้มีโอกาสหยุดพักผ่อนจากการลีลาศ เพื่อได้มีโอกาสสนทนาพูดคุยกันบ้าง กิจกรรมที่นำมาคั่นรายการนั้นควรจะมีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างความสนุกสนาน ตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้มาเข้าร่วมงาน ในรูปแบบอื่นๆ ในอันที่จะไม่ทำให้ผู้ที่มาร่วมงานเกิดความเบื่อหน่ายต่อการลีลาศ รำวง แต่เพียงอย่างเดียว เพราะบางทีกิจกรรมการลีลาศนั้น รำวง แต่เพียงอย่างเดียวตั้งแต่งานเริ่มจนงานเลิกนั้น อาจจะสร้างความเบื่อหน่ายแก่ผู้เข้ามาร่วมงานได้เช่นเดียวกันกิจกรรมต่างๆ ที่เลือกสรรเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อคั่นรายการนั้น จึงควรเป็นกิจกรรมแปลกๆ ใหม่ๆ ก่อให้เกิดความสนุกสนาน ความพึงพอใจ และประทับใจแก่ผู้ร่วมงานได้มากที่สุด ข้อควรคำนึงอีกประการหนึ่งก็คือ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรมของการแสดงอื่นๆ เข้ามาคั่นรายการนั้น ควรจะเป็นไปอย่างพอเหมาะไม่ควรมากจนเกินไป หรือน้อยเกินไป โดยทั่วๆ ไปแล้วระยะเวลาประมาณ 10-20 นาที              อย่างไรก็ตามการจัดงานลีลาศเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ผู้จัดจะต้องมีศิลปะและประสบการณ์ในการจัดมาพอสมควร จึงจะทำให้การจัดงานมีปัญหา และอุปสรรคน้อยที่สุด งานลีลาศแม้จะเป็นเพียงงานที่เกิดขึ้น และสิ้นสุดในระยะเวลาอันสั้น คืออาจจะมีช่วงเวลาเพียง 1 คืน แต่ผู้จัดควรจะมีการเตรียมการ และมีการวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี และถ้าหากผู้จัดมิได้มีอาชีพหรือมิได้มี   ประสบการณ์ในการจัดงานมาก่อนปัญหาและอุปสรรคจะเกิดขึ้นตามมาในภายหลังมากมาย ดังนั้นผู้จัดงานลีลาศนอกจากจะเป็นผู้มีศิลปะต่างๆ ในการจัดงานสังสรรค์ประเภทนี้แล้ว ยังจะต้องอาศัยหลักวิชาการอีกมากมายหลายประการอันจะส่งผลให้งานลีลาศแต่ละครั้งประสบความสำเร็จได้   สูงสุด การจัดงานลีลาศ เป็นการบริหารงานอย่างหนึ่ง ผู้จัดจึงต้องอาศัยหลักของการบริหารงาน     เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน กระบวนการบริหารงานนั้นมีหลายกระบวนการ แต่กระบวนการบริหารงานที่น่าจะนำมาใช้ในการจัดงานลีลาศ ควรจะมี 10 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. กำหนดความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของานแต่ละครั้งให้ชัดเจน รัดกุม การกำหนดวัตถุประสงค์ของงานแต่ละครั้ง 
    จะทำให้ผู้จัดสามารถที่จะดำเนินการจัดงานได้อย่างแน่นอน มี  เป้าหมาย  และหาวิธีการจัดเพื่อดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้    การกำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เช่น จัดงานเพื่อให้นิสิต นักเรียน นักศึกษาได้มีโอกาส นำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนลีลาศ    ในชั้นเรียนไปใช้ในประสบการณ์จริง หรือเพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ระหว่างหมู่คณะ อันจะก่อนให้เกิดความสามัคคีมายิ่งขึ้น เป็นต้น
2. วางแผนงาน และทำแบบแผนของโครงสร้างขึ้นมา
  การวางแผน หมายถึง  แนวทางการปฏิบัติงานในอนาคต    ที่จะทำให้ตรงไปตามเป้าหมายที่ต้องการ โดยกำหนดงานที่จะทำ วิธีทำ 
    กำหนดวัตถุประสงค์รายย่อยของการทำงานนั้นไว้ล่วงหน้า เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของบุคลากรทุกฝ่าย

    ประโยชน์ของการวางแผน และการทำแบบแผนโครงสร้างของงานมีความมุงหมายเพื่อ 1) เพื่ออธิบายให้รู้ว่ามีวัตถุประสงค์ในการทำงานนั้นๆ อย่างไร ฝ่ายไหนทำหน้าที่อะไร                            2) เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน  ตลอดจนบทบาทหน้าที่  เพื่อไม่ให้ทำงานซ้ำซ้อนกัน 3) เพื่อให้มีนโยบายชัดแจ้ง ซึ่งนโยบายจะเป็นเครื่องชี้นแนวทางและช่วยประสานงานแก่บรรดาเจ้าหน้าที่ 4) เพื่อให้มองเห็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ล่วงหน้า เพื่อดำเนินการแก้ไขได้แต่เนิ่นๆ  5) เพื่อให้ฝ่ายผู้จัดงานได้ควบคุมการทำงานได้น้อยที่สุด




อ้างอิงจาก : http://www.oknation.net/blog/health-stnb/2011/01/12/entry-1